
1. ควรใช้รอบเครื่องประมาณ 1500 รอบ/นาที เพราะรอบเครื่องที่สูงจะทำให้สายพานตีน้ำกระเด็น เข้าห้องเครื่องจนดับได้ 2. ไม่ควรเปิดแอร์ขณะลุยน้ำลึกเกินกว่า 20ซม. เพราะใบพัดของพัดลมคอนเดนเซอร์แอร์อาจตีน้ำ กระจายในห้องเครื่องได้ และทำนองเดียวกันใบพัดพัดลมอาจตีน้ำจนใบหักได้ 3. ในการเปลี่ยนเกียร์ ควรถอดคลัตซ์อย่างราบเรียบและรวดเร็ว อย่าเลี้ยงคลัตซ์ เพราะอาจทำให้ คลัตซ์ลื่นได้ง่าย 4. ควรรีบเข้าเกียร์ว่างแล้วปล่อยคลัตซ์อย่างนิ่มนวลและรวดเร็วเพราะถ้ามีน้ำในผ้าคลัตซ์มาก อาจ ทำให้คลัตซ์ลื่นจนรถยนต์ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ 5. ถ้าเครื่องยนต์ดับขณะลุยน้ำ ส่วนมากจะเป็นเพราะน้ำเข้าไปในระบบจุดระเบิด ซึ่งอาจแก้ไขได้ โดยการฉีดสเปรย์ไล่ความชื้น หรือใช้ผ้าแห้งเช็ดบริเวณจานจ่ายคอยล์ สายหัวเทียน จากนั้นรอ สัก 2-3 นาที จึงสตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าสตาร์ทไม่ติดภายในการสตาร์ท 3 ครั้ง ควรหยุดแล้วเช็ด ระบบจุดระเบิดใหม่ให้แห้งเพื่อสงวนไฟแบตเตอรี่ที่จะหมดไปในการสตาร์ท เมื่อสตาร์ทเครื่องติด แล้ว ควรเลี้ยงรอบเครื่องแช่ไว้ที่ 1200 รอบ/นาที(หรือเหยียบคันเร่งค้างไว้เล็กน้อย) สัก 15-20 วินาที เมื่อแน่ใจว่าเครื่องยนต์ทำงานสมบูรณ์จึงค่อยเคลื่อนรถต่อไป 6. หลังจากขับรถพ้นผิวจราจรที่มีน้ำท่วมควรเหยียบเบรกเป็นครั้งคราว เพื่อไล่น้ำจากผ้าเบรก และ ระบบเบรกจะทำให้การทำงานของระบบเบรกกลับเข้าสู่สภาพเดิม 7. เบรกติด เพราะจอดทิ้งไว้หลังลุยน้ำ ติดเครื่องเข้าเกียร์ 1 ให้รถเคลื่อนจากนั้นเหยียบเบรกอย่าง แรงสลับกันจนกว่าเบรกจะหลุด 8. สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติไม่ควรขับรถลุยน้ำ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังจากการลุยน้ำแล้ว ในวัน รุ่งขึ้น ควรนำรถเข้าตรวจเช็คระบบเกียร์ หากมีน้ำเข้าควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ เพื่อให้ รถของท่านที่ผ่านการลุยน้ำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม 9. ในตอนเช้าหลังจากลุยน้ำมา รถยนต์ของคุณอาจมีอาการเข้าเกียร์ไม่ได้ เพราะคลัตช์ติด การ แก้ไขทำได้โดยหาถนนโล่งๆประมาณ 30-50 เมตร ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักครู่จนถึงอุณหภูมิทำงาน แล้วดับเครื่อง จากนั้นเหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ 1 สตาร์ทเครื่องทั้งที่เข้าเกียร์ 1 รถจะวิ่งไปข้างหน้า เมื่อเครื่องติดรถเริ่มวิ่ง ลองดูว่าคลัตช์หลุดหรือไม่ ถ้ายังไม่หลุดให้ลองปฏิบัติตามข้างต้นใหม่ (วิธีค่อนข้างอันตราย ควรหาที่ โล่ง จริงๆ และปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง)
credit : www.e-toyotaclub.com |